วันพฤหัสบดีที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2558

สรุปสาระสำคัญของ พรบ.การป้องกันการทารุณกรรมและการจัดสวัสดิภาพสัตว์

สาระสำคัญของการป้องกันการทารุณกรรมและการจัดสวัสดิภาพสัตว์ ตามพระราชบัญญัติป้องกันการทารุณกรรมและ การจัดสวัสดิภาพสัตว์ พ.ศ. 2557

สัตว์ ที่ได้รับการคุ้มครอง คือ (ม.๓) 
๑.สัตว์ซึ่งโดยปกติเลี้ยงไว้เพื่อเป็นสัตว์บ้าน 
๒.สัตว์เลี้ยง เพื่อใช้งาน 
๓.สัตว์เลี้ยงเพื่อใช้เป็นพาหนะ 
๔.สัตว์เลี้ยงเพื่อใช้เป็นเพื่อน 
๕.สัตว์เลี้ยงเพื่อใช้เป็นอาหาร 
๖.สัตว์เลี้ยงเพื่อใช้ในการแสดง 
๗.หรือสัตว์เลี้ยง เพื่อใช้ในการอื่นใด ทั้งนี้ ไม่ว่าจะมีเจ้าของหรือไม่ก็ตาม 
๘.และสัตว์ที่อาศัยอยู่ในธรรมชาติตามที่ รัฐมนตรีประกาศก าหนด

การทารุณกรรม คือ (ม.๓) 
๑.การกระทำหรือ งดเว้นการกระทำใดๆ 
๒.ที่ทำให้สัตว์ได้รับความทุกข์ทรมานไม่ว่า ทางร่างกายหรือจิตใจ 
๓.ได้รับความเจ็บปวด ความเจ็บป่วย ทุพพลภาพ อาจมีผลทำให้สัตว์นั้นตาย 
๔.ให้หมายความรวมถึงการใช้สัตว์พิการ สัตว์ เจ็บป่วย สัตว์ชรา หรือสัตว์ที่กำลังตั้งท้อง 
๕.เพื่อแสวงหาผลประโยชน์ 
๖.ใช้สัตว์ประกอบกามกิจ 
๗.ใช้สัตว์ทำงานจนเกินสมควร 
๘.ใช้ให้ทำงานอันไม่สมควรเพราะเหตุที่สัตว์ นั้นเจ็บป่วย ชรา หรืออ่อนอายุ

การกระทำต่อไปนี้ ได้รับการยกเว้น ไม่ถือว่าเป็นการทารุณกรรม สัตว์ มี ๑๑ ประการ ประกอบด้วย (ม.๑๘) 
๑.การฆ่าสัตว์เพื่อใช้เป็นอาหาร ทั้งนี้ เฉพาะสัตว์เลี้ยงเพื่อใช้เป็นอาหาร 
๒.การฆ่าสัตว์ตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมการฆ่าสัตว์และจำหน่าย เนื้อสัตว์ 
๓.การฆ่าสัตว์เพื่อควบคุมโรคระบาดสัตว์ตามกฎหมายว่าด้วยโรคระบาดสัตว์ 
๔.การฆ่าสัตว์ในกรณีที่สัตวแพทย์เห็นว่าสัตว์ป่วย พิการ หรือบาดเจ็บและไม่ สามารถเยียวยาหรือรักษาให้มีชีวิตอยู่รอดได้โดยปราศจากความทุกข์ทรมาน 
๕.การฆ่าสัตว์ตามพิธีกรรมหรือความเชื่อทางศาสนา 
๖.การฆ่าสัตว์ในกรณีที่มีความจำเป็นเพื่อป้องกันอันตรายแก่ชีวิตหรือร่างกาย ของมนุษย์หรือสัตว์อื่น หรือป้องกันความเสียหายที่จะเกิดแก่ทรัพย์สิน 
๗.การกระทำใดๆ ต่อร่างกายสัตว์ซึ่งเข้าลักษณะของการประกอบอาชีพการสัตวแพทย์โดยผู้ประกอบวิชาชีพการสัตวแพทย์หรือผู้ซึ่งได้รับการยกเว้นให้ กระทำได้โดยไม่ต้องขึ้นทะเบียนและได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพ การสัตวแพทย์จากสัตวแพทย์สภาตามกฎหมายว่าด้วยวิชาชีพการสัตวแพทย์ 
๘.การตัด หู หาง ขน เขา หรืองาโดยไม่มีเหตุอันสมควรและไม่เป็นอันตราย ต่อสัตว์หรือการดำรงชีวิตของสัตว์ 
๙.การจัดให้มีการต่อสู้ของสัตว์ตามประเพณีท้องถิ่น 
๑๐. การกระทำอื่นๆที่มีกฎหมายกำหนดให้สามารถกระทำได้เป็นการเฉพาะ 
๑๑.การกระทำอื่นใดที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดโดยความเห็นชอบ

การจัดสวัสดิภาพสัตว์
ห้ามไม่ให้เจ้าของสัตว์ปล่อย ละทิ้ง หรือกระทำ การใดๆ ให้สัตว์พ้นจากการดูแลของตนโดยไม่มี เหตุอันควร  

ผู้กระทำการทารุณกรรมสัตว์จะมีโทษ จำคุกไม่เกิน ๒ ปี หรือ ปรับไม่เกิน ๔๐,๐๐๐ บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ 
การไม่จัดสวัสดิภาพสัตว์และปฏิบัติตาม หลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่กำหนดจะ มีโทษปรับไม่เกิน ๔๐,๐๐๐ บาท

Credit: http://www.thailanddogshow.com/image/Article-lern/news_tspca_03.pdf
            http://dcontrol.dld.go.th/th/index.php/2014-08-26-04-49-56/168-01

1 ความคิดเห็น:

  1. สมควรมากเลยนะครับที่ต้องมี พรบ.ควบคุมสัตว์เลี้ยง ช่วยให้การทำร้ายสัตว์ลดลงบ้างก็ยังดี

    ตอบลบ