วันพฤหัสบดีที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

วิธีทดสอบ IQ สำหรับสุนัข



มีหลากหลายวิธี ที่จะช่วยตรวจสอบความฉลาดของสุนัขของเรา วิธีการแก้ปัญหา ก็เป็นบททดสอบบทหนึ่ง ที่่จะวัดความฉลาดของสุนัขได้ มาดูกันว่ามีวิธีการตรวจสอบอะไรบ้าง แนะนำว่า ไม่ควรทดสอบทุกรายการภายในวันเดียว
1. การทดสอบโดยใช้ ผ้าขนหนู
    ใช้ผ้าขนหนูผืนยาว คลุมไปที่หัวและไหล่ของสุนัข แล้วสังเกตุ
     5 คะแนน - เมื่อสามารถหลุดจากผ้าได้ภายใน 15 วินาที
     4 คะแนน - 16-30 วินาที
     3 คะแนน - 31-60 วินาที
     2 คะแนน - 1-2 นาที
     1 คะแนน - เมื่อไม่สามารถหลุดออกจากผ้าได้

2.  การทดสอบโดยใช้ ตะกร้า
     นำขนม หรือ ของเล่น ไปวางไว้ใต้ตะกร้า 1 ใน 3 ใบ ที่วางอยู่ติดกัน แล้วมาดูว่าสุนัขสามารถหาเจอได้เมื่อไหร่
     5 คะแนน - เมื่อสุนัขเดินตรงไปยังจุดหมาย และเอาขนม หรือ ของเล่นออกมาได้
     4 คะแนน - เมื่อสุนัขมีการค้นหาอย่างมีระบบ และหาพบในที่สุด
     3 คะแนน - เมื่อสุนัขมีการค้นหาแบบสุ่ม และหาได้ภายใน 45 วินาที
     2 คะแนน - เมื่อสุนัขพยายามหา แต่หาไม่เจอ
     1 คะแนน - เมื่อสุนัขไม่มีทีท่าที่จะค้นหา หรือ ไม่มีความสนใจใดๆ

3. การทดสอบโดย จุดที่ชื่นชอบ หรือ พื้นที่อยู่อยู่เป็นประจำ
    จัดเรียง หรือบ สิ่งของ เฟอร์นิเจอร์ ภายในห้องใหม่ เมื่อสุนัขออกไปนอกบ้าน และเมื่อพวกเค้าเข้ามาคอยสังเกตุ
     5 คะแนน - เมื่อสุนัขเดินตรงไปยังจุดหมาย หรือจุดที่เค้าเคยอยู่ประจำ
     4 คะแนน - เมื่อสุนัขใช้เวลา 30 วินาที ในการหาจุดที่ชอบเจอ
     3 คะแนน - เมื่อสุนัขใช้เวลา 31-60 วินาที
     2 คะแนน - เมื่อสุนัขใช้เวลา 1-2 นาที
     1 คะแนน - เมื่อสุนัขไปอยู่บริเวณ หรือ พื้นที่อื่นแทน

4. การทดสอบโดย เก้าอี้ปริศนา
    นำขนมไปซ่อนไว้ใต้เก้าอี้ที่เตี้ย พอที่เท้าสุนัขเข้าไปเขี่ยได้ แต่หัวเข้าไม่ได้
     5 คะแนน - เมื่อสุนัขสามารถนำขนมออกมาได้ภายใน 1 นาที
     4 คะแนน - เมื่อสุนัขสามารถนำขนมออกมาได้ภายใน 1-3 นาที
     3 คะแนน - เมื่อสุนัขใช้เท้า และปาก แต่ยังไม่สามารถนำขนมออกมาได้
     2 คะแนน - เมื่อสุนัขใช้ปากอยากเดียวซักพัก แล้วเลิกสนใจ
     1 คะแนน - เมื่อสุนัขไม่พยายามที่จะเอาขนมออกมา


5. การทดสอบโดย การพาออกไปเดินเล่น
    เลือกเวลาอื่นๆ นอกเหนือจากเวลาที่พาสุนัขไปเดินตามปกติ แล้วหยิบกุญแจ พร้อมสายจูงของพวกเค้า เดินออกไป พร้อมสังเกตุ
     5 คะแนน - เมื่อสุนัขเดินพร้อมไปพร้อมกันคุณ
     4 คะแนน - เมื่อสุนัขแสดงอาการตื่นเต้น
     3 คะแนน - เมื่อคุณเดินไปถึงประตู สุนัขถึงจะมีปฏิกิริยาตอบสนอง
     2 คะแนน - เมื่อสุนัขนั่งแต่มีท่ามีสับสน
     1 คะแนน - เมื่อสุนัขไม่มีปฏิกิริยาใดๆ

6. การทดสอบโดย สิ่งกีดขวาง
    นำกระดาษแข็งมาทำเป็นสิ่งกีดขวาง ขนาดยาว 5 ฟุต ความสูงให้สูงกว่าตัวสุนัขเวลายืน เจาะช่่องขนาด กว้าง 3 นิ้ว สูง 4 นิ้ว ทั้งบริเวณด้านบน และ ด้านล่าง แล้วให้คุณอยู่ด้านนึง ส่วนสุนัขอยู่อีกด้านนึง แล้วคุณโชว์ขนมให้สุนัขเห็น แล้วคอยสังเกตุ
     5 คะแนน - เมื่อสุนัขข้ามสิ่งกีดขวางมาได้ภายใน 30 วินาที
     4 คะแนน - เมื่อสุนัขข้ามสิ่งกีดขวางมาได้ภายใน 31-60 วินาที
     3 คะแนน - เมื่อสุนัขข้ามสิ่งกีดขวางมาได้ภายใน 1-2 นาที
     2 คะแนน - เมื่อสุนัขโผล่หัวผ่านช่องที่เราเจาะไว้
     1 คะแนน - เมื่อสุนัขยืน แต่มีท่าทีสับสน

7. การทดสอบโดย ลูกบอล
    นำลูกบอลมาให้สุนัขเล่นซักครู่ แล้วนำไปซ่อนในถ้วยต่อหน้าสุนัข คอยสังเกตุ
     5 คะแนน - เมื่อสุนัขสามารถหาลูกบอลเจอภายใน 0-15 วินาที
     4 คะแนน - เมื่อสุนัขสามารถหาลูกบอลเจอภายใน 16-30 วินาที
     3 คะแนน - เมื่อสุนัขสามารถหาลูกบอลเจอภายใน 1-2 นาที
     2 คะแนน - เมื่อสุนัขพยายามนำลูกบอลออกมา แต่ไม่สำเร็จ
     1 คะแนน - เมื่อสุนัขไม่แสดงท่าทีสนใจ



8. การทดสอบโดย อาหารใต้กระป๋อง
    นำอาหารอันแสนโอชะของสุนัขมาโชว์ และให้พวกเค้าดม หลังจากนั้นค่อยๆนำอาหารไปวางที่พื้นให้ห่างจากสุนัขประมาณ 2 เมตร แล้วนำกระป๋องมาคลอบแล้วสลับไป-มา หลังจากนั้นเรียกสุนัขมาเพื่อหาอาหาร คอยสังเกตุ
     5 คะแนน - เมื่อสุนัขสามารถนำกระป๋องออก และกินอาหารภายใน 5 วินาที
     4 คะแนน - เมื่อสุนัขสามารถนำกระป๋องออก และกินอาหารภายใน 6-15 วินาที
     3 คะแนน - เมื่อสุนัขสามารถกินอาหารได้ภายใน 16-30 วินาที
     2 คะแนน - เมื่อสุนัขสามารถกินอาหารได้ภายใน 31-60 วินาที
     1 คะแนน - เมื่อสุนัขดมไปรอบๆ แต่ไม่สามารถนำอาหารออกมาได้

9. การทดสอบโดย ความเข้าใจทางภาษา
    ให้สุนัขนั่งนิ่งๆ ซักพัก แล้วคุณก้าวออกมา แล้วจึงเรียกชื่อสุนัข
     5 คะแนน - เมื่อสุนัขนั่งเฉยๆ และรอจนคุณเรียกชื่อจึงค่อยเดินไปหาคุณ
     3 คะแนน - เมื่อสุนัขมีท่าทีกระสับกระส่าย จะเดินตาม
     1 คะแนน - เมื่อสุนัขเดินตามคุณไป โดยไม่รอให้เรียกชื่อ

10. การทดสอบโดย การจดจำรอยยิ้ม
      เลือกช่วงทดสอบที่สุนัขนั่งอยู่ห่างจากคุณประมาณ 2 เมตร จ้องไปที่หน้าสุนัข เมื่อพวกเค้าหันมาสบตา จ้องต่อเป็นเวลา 3 วินาที แล้วจึงยิ้ม คอยสังเกตุ
     5 คะแนน - เมื่อสุนัขเดินเข้ามาหา และกระดิกหาง
     4 คะแนน - เมื่อสุนัขเดินเข้ามาอย่างช้าๆ แต่ไม่กระดิกหาง
     3 คะแนน - เมื่อสุนัขลุก-นั่ง แต่ไม่เดินไปหาคุณ
     2 คะแนน - เมื่อสุนัขเดินไปทางอื่น
     1 คะแนน - เมื่อสุนัขไม่แสดงความสนใจใดๆ กับคุณ

ผลการทดสอบ
40 - 50   อัจฉริยะ
30 - 39   มีความฉลาดสูง
20 - 29   มีความฉลาดปานกลาง
15 - 19   ปานกลาง
10 - 14   พอใช้
05 - 10   น้อย
0   - 09   น้อยมาก (แต่ความน่ารักไม่แพ้ใครน่ะ)

Credit: http://positivemed.com/2013/08/21/10-ways-to-test-your-dogs-iq/

วันอังคารที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

การกำจัดหมัด โดยการนวดด้วยน้ำมัน

เมื่อเหล่าสุนัขของคุณมีปัญหาเรื่องหมัด สามารถทำการรักษาได้โดยการ นวดด้วยน้ำมัน ซึ่งเป็นวิธีการที่ปลอดภัย ปลอดจากสารเคมี และเป็นมิตรกับตัวสุนัขเอง

ขั้นตอนที่ 1


ตรวจสอบรายการส่วนผสมที่จะต้องใช้ แล้วไปซื้อส่วนผสมต่างๆให้ครบ แนะนำให้ไปซื้อที่ร้านขายสินค้าสมุนไพร หรือ สินค้าเพื่อสุขภาพ
*น้ำมันที่แนะนำ Lavender, Pennyroyal, Lemongrass, Eucalyptus, Lemon

ขั้นตอนที่ 2


เทน้ำมันดอกทานตะวันลงในภาชนะแก้ว หรือ เซรามิก (การใช้ภาชนะกลุ่มโลหะ อาจทำปฏิกิริยากับพวกน้ำมันได้)

ขั้นตอนที่ 3


เติมน้ำมันหอมระเหยทั้งหมดลงในชาม แล้วผสมส่วนผสมทั้งหมดให้เข้ากัน

ขั้นตอนที่ 4


หาสถานที่ในบ้านที่สุนัขรู้สึกผ่อนคลาย และทำความสะอาดง่าย เนื่องจาก ในระหว่างการนวด ตัวของสุนัขอาจจะมันนิดหน่อย ซึ่งพื้นที่ดังกล่าวจะต้องเลอะ หรือ เป็นคราบได้

ขั้นตอนที่ 5


เริ่มการนวด โดยการชโลมน้ำมันลงบนตัวสุนัข แล้วใช้นิ้วมือ ค่อยๆ นวดจนน้ำมันเข้ากับผิวสุนัข

ขั้นตอนที่ 6


ควรนวดน้ำมันให้ทั่วทั้งตัวของสุนัข รวมถึง ใต้ขา บริเวณหู และหาง เมื่อทุกส่วนได้สัมผัสน้ำมัน จะทำให้หมัดออกจากตัวสุนัขได้ง่าย

ขั้นตอนที่ 7


ในระหว่างการนวด สังเกตุว่าสุนัขชอบที่เรานวดให้รึเปล่า ซึ่งการนวดนอกจากจะช่วยกำจัดหมัดแล้ว ยังช่วยให้สุนัขรู้สึกสบายตัว และผ่อนคลายด้วย

ขั้นตอนที่ 8


หลังจากการนวด ตามตัวของสุนัขอาจจะมันนิดหน่อย แต่ถ้ายังมันเยิ้ม แสดงว่าคุณใส่น้ำมันเยอะจนเกินไป และจะมีกลิ่นหอมอ่อนๆ ติดตัวสุนัขด้วย

ขั้นตอนที่ 9


ควรนวดซ้ำอีก อย่างน้อยทุกๆ 2 วัน ภายใน 1 สัปดาห์ เพื่อให้แน่ใจว่าหมัดได้ลดลง หรือ จนกระทั่งไม่มีหมัดในตัวสุนัขแล้ว

ขั้นตอนที่ 10


นอกจากการนวดที่ช่วยลด หรือ กำจัดหมัดจากตัวสุนัขแล้ว เราควรทำสิ่งอื่นๆ ร่วมด้วย เช่น การซักที่นอน การถูบ้านทุกวัน หรือ การดูดฝุ่น เพื่อให้มั่นใจว่า ทุกส่วนภายในบ้าน และตัวสุนัขเอง ไม่มีหมัดหลงเหลืออยู่

Credit: http://www.wikihow.com/Make-a-Natural-Dog-Flea-Massage-Oil

วันพฤหัสบดีที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

สุนัขข้ามสายพันธุ์ ที่แสนน่ารัก


Pitsky: Pitbull & Husky



Corgi & Dalmatian


Chusky: Chow Chow & Husky



Dalmachshund: Dachshund & Dalmatian



Labsky: Labrador & Husky



Chug: Pug & Chihuahua



Corgi & German Shepherd



Yorkshire Terrier & Poodle



Beagleman: Beagle & German Shepherd



Cocker-Pei: Shar-pei & Cocker Spaniel



Pomsky: Pomeranian & Husky



German Sherpei: German Shepherd & 
Shar-pei



English Bulldog & German Shepherd



Horgi: Corgi & Husky



Bullpug: Pug & English Bulldog



Schnoodle: Schnauzer & Poodle



Shepherd Chow: Chow Chow & 
German Shepherd



Shorgi: Corgi & Sheltie



Sharp Asset (or Ba-Shar): Basset Hound & Shar-Pei



Corgipoo: Toy Poodle & Corgi



Goberian: Siberian Husky & Golden Retriever

Credit: http://www.boredpanda.com/mixed-breed-dogs/

วิธการลดน้ำหนักสำหรับสุนัข

การปล่อยให้สุนัขอ้วนเกินไป อาจทำให้พวกเค้ามีอายุสั้น ร่างกายอ่อนแอ และตามมาด้วยโรคภัยต่างๆ เช่น  โรคเบาหวาน โรคหัวใจ โรคมะเร็ง และโรคอื่นๆ การแบกน้ำหนักที่มากเกินไป อาจนำไปสู่โรคข้ออักเสบได้ ดังนั้นเราในฐานะผู้เลี้ยงดู จะต้องควบคุมอาหาร และดูแลไม่ให้น้ำหนักของสุนัขมากจนเกินไป วิธีการในการควบคุมน้ำหนักสุนัข สามารถปฏิบัติได้ดังนี้

ส่วนที่ 1 การตรวจสอบน้ำหนักสุนัข



1. ประเมินดูว่าสุนัขของคุณอ้วน หรือไม่ โดยตรวจสอบทั้งจากด้านบน และด้านข้าง ดังนี้
    - ยืนเหลือสุนัข มองตรงไปทางด้านหลังของพวกเค้า โดยจะต้องเห็นเอวได้อย่างชัดเจน มีความแต่งต่างระหว่างหน้าอก และหน้าท้อง
    - เมื่อมองจากด้านข้าง จะสามารถเห็นความแตกต่างระหว่างขนาดของหน้าอก และช่องท้อง สุนัขควรจะเห็นเอวได้ชัดเจน หน้าท้องควรจะใกล้กับกระดูกสันหลังมากกว่าหน้าอก
    - ถ้าด้านหลังแบน และหน้าท้องหย่อน สามารถระบุได้ว่าสุนัขมีน้ำหนักเกิน



2. ตรวจสอบหาซึ่โครง นำมือของคุณไปวางบริเวณหน้าอกของสุนัข และคลำหาซี่โครงบริเวณดังกล่าว โดยสุนัขที่มีน้ำหนักปกติ จะต้องมองไม่เห็นซี่โครง เแต่สามารถรับรู้ได้โดยการสัมผัส แต่ถ้าคลำหาไม่เจอซึ่โครงเลย แสดงว่าสุนัขของคุณมีน้ำหนักเกิน



3. ชั่งน้ำหนักสุนัข ตรวจสอบช่วงน้ำหนักของสุนัขของคุณ ตามข้อมูลในอินเตอร์เน็ต
    - วิธีการชั่งน้ำหนักสุนัขที่บ้าน ดังนี้ อุ้มสุนัข (บางสายพันธุ์ที่มีขนาดใหญ่เกินไป อาจใช้วิธีการนี้ไม่ได้) เพื่อชั่งน้ำหนักพร้อมกับคุณ แล้วหักน้ำหนักคุณออก จะได้น้ำหนักที่แท้จริงของสุนัข ควรใช้วิธีการชั่งน้ำหนักแบบเดิมๆ ทุกครั้งเพื่อความถูกต้องของข้อมูล
   - ในช่วงที่คุณไปพบสัตว์แพทย์ จะเป็นช่วงที่คุณสามารถตรวจสอบน้ำหนักได้อย่างแท้จริง และขอคำปรึกษาเกี่ยวกับข้อมูลน้ำหนักของสุนัข ที่ถูกต้อง

ส่วนที่ 2 จัดทำแผนการลดน้ำหนัก



1. พบสัตวแพทย์ เมื่อคุณพบว่าสุนัขของคุณมีน้ำหนักเกิน ควรปรึกษาสัตวแพทย์ เพื่อประเมินน้ำหนักของสุนัข และปรึกษาถึงสาเหตุ และจำนวนน้ำหนักที่จะต้องทำการลด



2. จัดโปรแกรมอาหารสำหรับสุนัขร่วมกับสัตวแพทย์ โดยสัตวแพทย์จะช่วยวางแผน หรือ โปรแกรมการลดน้ำหนักให้ได้ รวมถึงการจะต้องเปลี่ยนอาหารที่ออกแบบมาเฉพาะสำหรับการลดน้ำหนัก ปรับขนาด และความถี่ สำหรับขนม และเพิ่มการออกกำลังกาย



3. การใช้ยาลดน้ำหนัก กรณีสุนัขมีน้ำหนักมากเกินไปที่จะควบคุม ในปัจจุบันมีการผลิตยาที่จะช่วยควบคุมน้ำหนักให้กับสุนัข โดยยากลุ่มนี้จะไปลดความอยากอาหาร แต่ก็มีผลข้างเคียงเช่นกัน เช่น อาจทำให้เกิดการอาเจียน หรือ ท้องร่วงได้
   - ควรเลือกใช้ยาลดน้ำหนัก เป็นทางเลือกสุดท้าย และใช้กับสุนัขที่มีสุขภาพดี หรือ จากการวินัจฉัยของแพทย์ ที่สุนัขของคุณไม่สามารถลดน้ำหนักโดยวิธีการอื่นได้
   - ซึ่งการใช้ยา จะต้องได้รับการวินัจฉัยจากสัตวแพทย์เท่านั้น

ส่วนที่ 3 การปฎิบัติตามโปรแกรมการลดน้ำหนัก



1.  การให้อาหาร ด้วยวิธีการง่ายๆ คือ ลดปริมาณอาหารลง หรือ เลือกสูตรสำหรับลดน้ำหนัก หรือ ปรึกษาสัตวแพทย์
   - มีอาหารตามใบสั่งแพทย์ ที่จะสามารถช่วยลดน้ำหนักของสุนัขให้ได้ตามที่ต้องการ อาหารชนิดนี้ จะมีปริมาณ แคลอรี่ต่ำ และเส้นใยอาหารสูง เมื่อสุนัขทานแล้วจะทำให้อิ่มเร็ว แต่อาหารเหล่านี้มักจะมีราคาสูง จึงแนะนำให้ใช้กับสุนัขที่มีน้ำหนักที่มาก และยากต่อการลดจริงๆ ในส่วนของสุนัขที่อ้วนทั่วไป แนะนำให้ใช้การลดปริมาณอาหารลงในแต่ละมื้อ



2. เช็คปริมาณอาหารที่ให้สุนัขในแต่ละมื้อ นี่คือสิ่งที่จำเป็นที่คุณจะต้องรู้ ในระหว่างการลดน้ำหนักให้กับสุนัข เพื่อจะได้ปรับปริมาณอาหารให้มีความเหมาะสม และสมดุล ถ้าบ้านคุณเลี้ยงสุนัขหลายตัว ควรแยกพื้นที่ให้อาหาร สำหรับสุนัขที่ควบคุมน้ำหนัก เพื่อให้สามารถปฎบัติตามโปรแกรมที่กำหนดไว้ได้ และง่ายต่อการสังเกตุพฤติกรรมการกินของสุนัขได้อีีกด้วย



3. จัดทำบันทึกประจำวัน โดยการบันทึกปริมาณการให้อาหาร รวมถึงปริมาณของขนม และปริมาณการออกกำลังกาย ในแต่ละวัน คุณสามารถใช้ที่ตวงสำหรับควบคุมปริมาณอาหารที่ให้แต่ละมื้อ แต่การชั่งน้ำหนักจะให้ค่าที่ถูกต้อง และแม่นยำมากกว่า
คุณสามารถนำข้อมูลมาทำเป็นกราฟ เพื่อดูแนวโน้มของน้ำหนักในแต่ละสัปดาห์ จะช่วยให้คุณมองเห็นภาพรวม ว่าโปรแกรมลดอาหารที่วางแผนไว้ มีประสิทธิภาพหรือไม่ อย่างไร



4. ลดปริมาณขนมลง ขนมสำหรับสุนัข ที่ขายทั่วๆ ไป มักจะมีปริมาณ แคลอรี่สูง คล้ายๆ กับขนมที่คนกิน ดังนั้นควรหลีกเลี่ยงการให้ขนมดังกล่าวกับสุนัขที่กำลังลดน้ำหนัก แล้วเปลี่ยนเป็นขนมที่เน้นสุขภาพแทน
ตัวอย่างขนมเพื่อสุขภาพ เช่น ขนมที่ประกอบไปด้วย แครอท ถั่วเขียว บล็อคเคอรี่ คื่นฉ่าย และแอปเปิ้ล แต่ไม่ควรให้อาหารของคนบางอย่าง เนื่องจากอาหารบางชนิด เป็นพิษต่อสุนัข
การใช้ขนมกับสุนัข จะต้องนำแคลอรี่ของขนมไปรวมกับ แคลอรี่รวมที่ได้รับในแต่ละวันด้วย และการให้ขนมจะต้องไม่เกิน 10% ของปริมาณอาหารหลักในแต่ละวัน



5. การออกกำลังกาย ควรหมั่นพาสุนัขไปออกกำลังกายอยู่เสมอ การออกกำลังกายเป็นการสร้างกล้ามเนื้อ เผาผลาญอาหาร และลดน้ำหนัก เมื่อนำปริมาณแคลอรี่ที่กินเข้าไป ลบด้วยปริมาณแคลอรี่ที่เผาผลาญออกมาโดยการออกกำลังกาย จะเป็นตัวช่วยคำนวณว่า สุนัขจะสามารถลดน้ำหนักลงได้ หรือไม่
ข้อควรระวังในการออกกำลังกาย สุนัขบางสายพันธุ์ ไม่สามารถออกกำลังกายหนักๆ ได้ และในการออกกำลังกาย ยังต้องคำนึงถืงสุขภาพของสุนัข สภาพแวดล้อม ถ้าไม่แน่ใจ ควรปรึกษาสัตวแพทย์ เพื่อช่วยกำหนดวิธีการออกกำลังกายที่เหมาะสม ให้กับสุนัขของเรา

ส่วนที่ 4 การตรวจสอบ และปรับแผนการลดน้ำหนัก



1. ตรวจสอบน้ำหนักของสุนัข อย่างน้อยสัปดาห์ละครั้ง จัดทำกราฟแสดงน้ำหนัก เพื่อให้ง่ายต่อการเช็คความคืบหน้า และ แนวโน้ม ของน้ำหนักของสุนัข



2. ประเมินแผนการลดน้ำหนัก ว่ามีประสิทธิภาพ หรือไม่ เมื่อคุณจำกัดปริมาณแคลอรี่ ที่ให้สุนัขกินเข้าไป และออกกำลังกายอย่างเพียงพอ แต่น้ำหนักของสุนัขยังไม่ลดลง ควรปรึกษาสัตวแพทย์ อีกครั้ง ซึ่งอาจจะต้องจำกัดปริมาณอาหารต่อ หรือ ต้องเพิ่มการออกกำลังกายให้มากขึ้น
แผนที่คุณกำหนดไว้ตอนแรก อาจจะไม่เหมาะสมกับสุนัขของคุณ ควรเปลี่ยนแผน หรือ โปรแกรม ลดน้ำหนักใหม่ โดยต้องสอดคล้องกับคำแนะนำของสัตวแพทย์



3. คิด และหาสาเหตุที่ทำให้สุนัขได้รับปริมาณแคลอรี่เพิ่ม มีความเป็นไปได้หลายเหตุผล ว่าทำไมสุนัขของคุณไม่สามารถลดน้ำหนักได้ เช่น สมาชิกในบ้านคนอื่น แอบให้อาหาร หรือ ขนมเพิ่ม โดยที่คุณไม่ทราบ



4. พิจารณาสาเหตุด้านสุขภาพอื่นๆ ที่ทำให้น้ำหนักสุนัขเพิ่มขึ้น ซึ่งโรคบางอย่างทำให้สุนัขมีน้ำหนักเพิ่มขึ้น และยากต่อการลดน้ำหนัก เช่น ภาวะขาดไทรอยด์ฮอร์โมน จะป้องกันไม่ให้สุนัขเผาผลาญพลังงาน แม้จะมีการออกกำลังกายที่เพียงพอแล้วก็ตาม โรคเบาหวาน และกลุ่มอาการคุชชิ่ง** จะส่งผลให้ร่างกายสุนัขไม่สามารถลดน้ำหนักได้
** กลุ่มอาการคุชชิง (Cushing syndrome หรือ Cushing’s syndrome) เป็นกลุ่มอาการที่เกิดจากร่างกายมีฮอร์โมน Glucocorticoid (หรือ Cortisol) มากเกินปกติ โดยสาเหตุอาจเกิดจากมีการสร้างฮอร์โมนกลุ่มนี้มากเกินจากร่างกายสร้างเอง (Endogenous glucocorticoid) หรือร่างกายมีฮอร์โมนนี้มากเกินปกติโดยได้ฮอร์โมนนี้มาจากภายนอกร่างกาย (Exogenous glucocorticoid)
อาการทั่วไป: เช่น หิวบ่อย กินจุ ใบหน้าอ้วนกลมเหมือนพระจันทร์เต็มดวง อ้วนโดย เฉพาะส่วนกลางลำตัว ปัสสาวะมากและปัสสาวะบ่อย นอนไม่หลับ

ข้อควรระวัง
ควรศึกษาข้อมูลของอาหารต่างๆ ก่อนที่ให้สุนัขทาน เช่น องุ่น ลูกเกต ช็อคโกแลต และหัวหอม สามารถเป็นพิษต่อสุนัข
การออกกำลังกายที่หนักมาก อาจเป็นอันตรายต่อสุนัข ควรศึกษา หรือ ปรึกษาสัตวแพทย์ ถึงปริมาณการออกกำลังที่เหมาะสมกับสุนัขของเรา
ไม่ควรจำกัดการให้น้ำสับสุนัข และให้น้ำที่สะอาด

Credit: http://www.wikihow.com/Help-Your-Dog-Lose-Weight