วันศุกร์ที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2559

รายการตรวจสอบสุขภาพของสัตว์เลี้ยง



การที่คุณอยู่กับสัตว์เลี้ยงทุกวัน อาจจะเห็นว่าเค้ายังคงมีสุขภาพที่ดี แต่มันอาจจะไม่เป็นเช่นนั้น ดังนั้นคุณควรหมั่นสังเกตุการเปลี่ยนแปลง หรือ พฤติกรรมที่เปลี่ยนไปของสัตว์เลี้ยง เพราะสิ่งต่างๆเหล่านี้ จะช่วยให้ง่า่ยต่อการวินิจฉัยอาการของสัตว์แพทย์ หรือ ช่วยให้การสามารถรักษาได้อย่างทันท่วงที โดยการสังเกตุส่วนต่างๆของร่างกายสัตว์เลี้ยง ดังนี้
ตา
ดวงตาที่ปกติจะต้องใส ไม่มีสีแดง ขุ่น หรือ แฉะ แต่สัตว์เลี้ยงบางตัวอาจจะมีน้ำตาเยอะกว่า ควรสอบถามสัตว์แพทย์ ว่ามีความผิดปกติหรือไม่
ปาก และจมูก
โรคทางทันตกรรมถือเป็นเรื่องธรรมดามากในหมู่สัตว์เลี้ยง ถึงแม้เค้าจะมีสุขภาพทีดีก็ตาม แต่ลมหายใจของสุนัข ก็อาจบ่งบอกปัญหาสุขภาพได้ อาการที่บ่งบอกว่ามีปัญหา เช่น เหงือกแดงหรือบวม ฟันเปลี่ยนสี ปริมาณน้ำลายที่มากเกินไป เป็นต้น จมูกของสัตว์เลี้ยงก็ไม่ควรมีน้ำมูกไหลมากเกินไป
หู
จะต้องสะอาด และไม่มีกลิ่นเหม็น มีขี้หูเล็กน้อยถือว่าปกติ แต่ถ้ามีปริมาณที่เยอะเกินไป อาจจะเกิดจากความผิดปกติบางอย่างในร่างกาย คุณควรตรวจสอบหูของสัตว์เลี้ยงทุกสัปดาห์ และทำความสะอาดด้วยสำลีก้อน (ไม่แนะนำให้ใช้คอตตอลบัด) การตรวจเช็คหูอย่างสม่ำเสมอ จะทำให้ง่ายต่อการสังเกตุเห็นสิ่งที่เปลี่ยนแปลง และสามารถรักษาได้ทัน
ผิวหนัง และขน
ผิวหนังไม่ควรเป็นสีแดง เป็นขุยแห้ง หรือ มันเยิ้ม จนเกินไป เมื่อตรวจพบก้อนบริเวณผิวหนัง ควรปรึกษาสัตว์แพทย์ สัตว์เลี้ยงทุกตัวไม่ได้มีขนที่เงางาม แต่ควรจะดูมีสุขภาพตามแต่ละสายพันธุ์ และไม่ควรปล่อยขนให้พันกันจนเป็นสังกะตัง ในระหว่างที่คุณตรวจสอบสภาพผิวหนัง และขน ควรตรวจหาเห็บ และหมัดไปพร้อมกันด้วย
กระดูก และข้อต่อ
สัตว์เลี้ยงของคุณดูเคลื่อนไหวได้ปกติมั้ย มีความกระตือรือล้นเหมือนเดิมรึเปล่า หรือ ลุก-นั่งยาก ลังเลที่จะกระโดด หรือ ขึ้นบันได ถ้าสัตว์เลี้ยงของคุณมีการเดินที่ไม่ปกติ แสดงว่ากระดูก หรือ ข้อต่ออาจจะมีปัญหา หรือบางครั้งการที่เค้ามีความอยากเล่นน้อยลง นั่นก็อาจบ่งบอกถึงปัญหาสุขภาพได้เช่นกัน
โรคข้อเสื่อม ไม่ได้เป็นปัญหาเฉพาะสัตว์เลี้ยงที่สูงอายุเท่านั้น แต่โรคเกี่ยวกับกระดูก และข้อต่อ อาจจะพบได้ในลูกสุนัข และลูกแมว อาการข้อเสื่อมสังเกตุได้ยากมากในแมว เพราะว่าส่วนใหญ่เราไม่ค่อยพาแมวออกไปเดินเล่น และเมื่อแมวป่วยเค้าจะหลบซ่อนตัว
หัวใจ และปอด
สุนัขและแมวบางสายพันธุ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสายพันธุ์จมูกสั้น โดยธรรมชาติจะหายใจเสียงดัง ถ้าคุณไม่แน่ใจว่า เป็นการหายใจที่ปกติหรือไม่ ให้สอบถามสัตว์แพทย์ เพื่อความมั่นใจ สุนัขและแมว สามารถเป็นโรคหัวใจ โรคติดเชื้อทางเดินหายใจ และอื่นๆ โดยสามารถสังเกตุได้จากอัตราการหายใจที่เปลี่ยนไป อาการอื่นๆที่บ่งบอกว่าระบบทางเดินหายใจมีปัญหา เช่น การไอ จาม หายใจขัด บางครั้งที่สัตว์เลี้ยง ไม่ค่อยอยากออกกำลังกาย ไม่อยากเล่น เบื่อง่าย หรือเหนื่อยง่ายกว่าปกติ อาจจะเป็นสัญญานโรคระบบทางเดินหายใจได้เช่นกัน
ระบบทางเดินอาหาร
อาการท้องเสีย หรือ อาเจียน เป็นสัญญาณที่ชัดเจนว่ามีปัญหาในระบบทางเดินอาหาร แต่อาการอื่นๆ ของปัญหาระบบการย่อยอาหารอาจไม่ชัดเจน เช่น ความอยากอาหารที่เปลี่ยนไป ท้องบวม สีอุจจาระเปลี่ยน เป็นต้น
ระบบทางเดินปัสสาวะ
ควรแจ้งสัตว์แพทย์ เมื่อปัสสาวะมีการเปลี่ยนแปลง หรือ ผิดปกติ เช่น มีการฉี่ในบ้าน (เฉพาะกรณีสุนัขที่ผ่านการฝึกแล้ว) ปริมาณฉี่ที่เยอะเกินไป หรือ ฉี่บ่อยเกินไป กลิ่น และสีเปลี่ยน และถ้าสุนัขพยายามจะฉี่ แต่ไม่มีอะไรออกมา ควรรีบไปพบสัตว์แพทย์ทันที เพราะอาจก่อให้เกิดอันตรายถึงแก่ชีวิตได้
สภาพโดยรวมของร่างกาย
อย่าคิดว่าสัตว์เลี้ยงที่อ้วน จะมีสุขภาพดีเสมอไป พบว่า มากกว่าครึ่งของสุนัข และแมว เป็นโรคอ้วน ซึ่งพวกเค้าจะต้องแบกรับน้ำหนักที่มากเกินไป จนนำไปสู่ปัญหาอื่นๆ เช่น ปัญหากับข้อต่อ และระบบทางเดินหายใจ และในทางกลับกัน ถ้าสัตว์เลี้ยงผอมจนเกินไป หรือ น้ำหนักลดลงอย่างรวดเร็ว ก็จะเป็นการบ่งบอกถึงปัญหาด้านสุขภาพเช่นกัน

Credit: http://www.vetstreet.com/our-checklist-for-your-pets-full-body-health

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น