วันเสาร์ที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2559

การปฐมพยาบาลสุนัขเบื้องต้น

การปฐมพยาบาลสุนัขเบื้องต้น

           ในสภาพการเลี้ยงสุนัขในปัจจุบันนี้ ทำให้สุนัขมีโอกาสเกิดอุบัติเหตุ (เช่น รถชน ช็อก ไฟฟ้าดูด ตกน้ำ และปวดท้องอย่างเฉียบพลัน เป็นต้น) หรือได้รับสารพิษได้ง่าย เจ้าของจึงมีความจำเป็นต้องให้การปฐมพยาบาลก่อนที่จะส่งต่อให้สัตวแพทย์ทำ การรักษาต่อไป ดังนั้นเจ้าของหรือผู้เลี้ยงสุนัขจึงควรรู้ถึงวิธีการปฐมพยาบาลสุนัขที่ถูก วิธี เพื่อลดความเจ็บปวดและโอกาสที่จะทำให้สุนัขตายได้

การช่วยหายใจและการปั๊มหัวใจ

           การช่วยหายใจก็เพื่อช่วยเหลือให้สุนัขหายใจในขณะที่หมดความรู้สึก ส่วนการปั๊มหัวใจเป็นการช่วยเหลือเมื่อไม่ได้ยินเสียงเต้นของหัวใจหรือ รู้สึกว่าหัวใจหยุดเต้น เมื่อหยุดหายใจจะทำให้หัวใจหยุดเต้นตามมา การช่วยหายใจร่วมกับการปั๊มหัวใจจะช่วยทำให้สุนัขมีชีวิตต่อไปอีกระยะหนึ่ง เพื่อจะได้ทำการช่วยเหลืออื่น ๆ ต่อไปได้ การปั๊มหัวใจจะทำให้อากาศถ่ายเทเข้าสู่ปอดและยังช่วยปั๊มเลือดด้วย แต่เพื่อที่จะให้ได้ผลดีที่สุด ควรปั๊มหัวใจร่วมกับการช่วยหายใจแบบปากต่อจมูกด้วย ซึ่งต้องอาศัย 2 คนช่วยเหลือกัน โดยที่คนหนึ่งช่วยปั๊มหัวใจ ส่วนอีกคนช่วยหายใจแบบปากต่อจมูก

           กรณีฉุกเฉินที่ต้องช่วยหายใจและ/หรือปั๊มหัวใจ ได้แก่ ช็อก ได้รับสารพิษ ชักเป็นเวลานาน โคมา อุบัติเหตุที่หัว ไฟฟ้าดูด และ อุดตันทางเดินหายใจ เป็นต้น
การช่วยหายใจ

           วิธีการช่วยหายใจมี 2 วิธี คือ แบบกดที่หน้าอก และแบบปากต่อจมูก การกดที่อกเป็นวิธีการที่ใช้แรงกดไปที่ผนังช่องอก เพื่อให้อากาศออกมาและจากนั้นจึงผ่อนแรงเพื่อให้อากาศเข้าไป จึงเป็นวิธีที่ทำได้ง่าย ส่วนวิธีการปากต่อจมูกนั้นจะเป็นวิธีที่ทำเมื่อใช้วิธีกดช่องอกไม่ได้ผล หรือเมื่อช่องอกทะลุมีรูเกิดขึ้น

วิธีการกดช่องอก

           1. คลำชีพจรหรือสังเกตการเต้นของหัวใจ

           2. เปิดปากสุนัขและทำความสะอาดเพื่อไม่ให้มีน้ำลายหรือเสมหะ

           3. วางสุนัขบนที่ราบโดยให้ด้านขวาของสุนัขอยู่ด้านล่าง

           4. วางมือข้างใดข้างหนึ่งหรือทั้งสองข้างลงบนหน้าอกแล้วกดลงอย่างแรง จากนั้นปล่อยมืออย่างรวดเร็ว ถ้าทำอย่างถูกต้องจะได้ยินเสียงอากาศผ่านเข้าและออก ถ้าไม่ได้ยินเสียงอากาศผ่านเข้าออกให้ใช้วิธีปากต่อจมูก

           5. ปฏิบัติจนกระทั่งสุนัขหายใจได้เอง หรือตราบเท่าที่หัวใจยังเต้นอยู่

วิธีการปากต่อจมูก

           1. ในตอนแรกทำเหมือนขั้นตอนที่ 1 และ 2 ของวิธีการกดช่องอก

           2. ดึงลิ้นออกมาและปิดปาก จากนั้นใช้มือปิดริมฝีปาก

           3. จากนั้นใช้ปากของท่านปิดจมูกสุนัขแล้วเป่าติดต่อกันเป็นเวลา 3 วินาที จะทำให้ช่องอกขยายออก จากนั้นเอาปากออกจะทำให้อากาศออกมา

           4. ปฏิบัติจนกระทั่งสุนัขหายใจได้เอง หรือตราบเท่าที่หัวใจยังเต้นอยู่

การปั๊มหัวใจ





ปั๊มหัวใจสุนัขขนาดเล็ก

           1. ในตอนแรกทำเหมือนขั้นตอนที่ 1 และ 2 ของวิธีการกดช่องอก

           2. จับสุนัขนอนตะแคง วางนิ้วโป้งลงบนข้างใดข้างหนึ่งของกระดูกอก (sternum) และนิ้วมืออื่น ๆ อยู่ด้านตรงข้ามหลังข้อศอกเล็กน้อย

           3. กดช่องอกแรง ๆ 6 ครั้ง จากนั้นพักนาน 5 วินาทีเพื่อให้ช่องอกขยายตัว แล้วจึงกดซ้ำอีก

           4. ปฏิบัติการซ้ำจนกระทั่งหัวใจเต้นได้เอง หรือจนกระทั่งหัวใจไม่เต้นเป็นเวลานาน 5 นาที

Credit: http://www.chihuahua.in.th/webboard/index.php?topic=67.0;wap2
            https://www.pinterest.com/pin/546624473500837287/

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น